1) ในเวลาเดียวกัน พื้นผิวโลกบริเวณใด มีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มากที่สุด a) บริเวณศูนย์สูตร b) บริเวณละติจูด 60 องศา c) บริเวณละติจูด 30 องศา d) บริเวณละติจูด 15 องศา 2) พื้นผิวโลกบริเวณที่มีเมฆและละอองลอยมากในตอนกลางวัน ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ใด a) พื้นผิวโลกบริเวณนั้นจะมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มากขึ้นกว่าปกติ b) ในตอนกลางคืน พื้นผิวโลกบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ c) ในตอนกลางวัน พื้นผิวโลกบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ d) พื้นผิวโลกบริเวณนั้นจะมีรังสีดวงอาทิตย์ผ่านมาได้มากขึ้นกว่าปกติ 3) สิ่งใดในบรรยากาศที่ทำให้เกิดการสะท้อนและดูดกลืนรังสีคลื่นสั้นบางส่วนก่อนถึงพื้นผิวโลก a) เมฆ b) แก๊สมีเทน c) แก๊สไนโตรเจน d) แก๊สอาร์กอน 4) สิ่งใดในบรรยากาศที่ทำให้เกิดการสะท้อน กระเจิง และดูดกลืนรังสีคลื่นสั้นบางส่วนก่อนถึงพื้นผิวโลก a) เมฆ b) ละอองลอย c) แก๊สมีเทน d) แก๊สไนโตรเจน 5) สิ่งใดในบรรยากาศที่มีสมบัติในการดูดกลืนรังสี บางส่วนที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกและแผ่รังสีนั้นกลับสู่พื้นผิวโลกอีกครั้ง a) เมฆ b) ละอองลอย c) แก๊สไนโตรเจน d) แก๊สอาร์กอน 6) 6. อัตราส่วนรังสีสะท้อนจากพื้นผิววัตถุในข้อใดมีค่ามากที่สุด a) ใบไม้สด b) ดิน c) ใบไม้แห้ง d) กระดาษขาวเรียบ 7) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการหมุนเวียนของอากาศ a) อากาศเหนือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจะมีการยกตัวขึ้น b) อากาศเหนือบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีการจมตัวลง c) เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ d) เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศสูง 8) บริเวณใดมีอากาศแห้งแล้งกว่าบริเวณอื่น a) บริเวณละติจูด 30 องศา b) บริเวณละติจูด 60 องศา c) บริเวณละติจูด 90 องศา d) บริเวณใกล้ศูนย์สูตร 9) ร่องความกดอากาศต่ำ (intertropical convergence zone, ITCZ) หรือ ร่องมรสุม เกิดภูมิอากาศแบบใด a) ภูมิอากาศแบบร้อนน้อย b) ภูมิอากาศเเบบร้อนมาก c) ภูมิอากาศเเบบหนาวชื้น d) ภูมิอากาศเเบบร้อนชื้น 10) แรงที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศเหนือน้ำเย็นไปยังบริเวณเหนือน้ำอุ่น คือแรงใด a) แรงสู่ศูนย์กลาง b) แรงที่เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ c) แรงเสียดทาน d) แรงคอริออลิส 11) 11. อากาศจากขั้วโลกเหนือเคลื่อนที่เบนลงมาบริเวณละติจูด 60 องศาเหนือ จัดเป็นลมชนิดใด a) ลมเหนือ b) ลมตะวันออก c) ลมตะวันออกเฉียงเหนือ d) ลมตะวันออกเฉียงใต้ 12) 12. ข้อใดต่อไปนี้เป็นวงจรแบบจำลองการหมุนเวียนอากาศแบบทั่วไป a) แฮดลีย์เซลล์, เฟอร์เรลเซลล์ b) ออลิสเซลล์, เฟอร์เรลเซลล์ c) แฮดลีย์เซลล์, ออลิสเซลล์ d) แฮดลีย์เซลล์, โพลาย์เซลล์ 13) 13. มรสุมฤดูหนาวส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างไร a) อากาศแปรปรวนรุนแรง b) อากาศชื้นกว่าปกติ c) อุณหภูมิอากาศสูง d) อากาศแห้งและท้องฟ้าโปร่ง 14) 14.การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำชั้นบนมีลักษณะอย่างไรการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำชั้นบนมีลักษณะอย่างไร a) อุณหภูมิลดลงตามความลึกที่เพิ่มขึ้น b) ใกล้ผิวน้ำจะมีอุณหภูมิคงที่ c) อุณหภูมิสูงขึ้นตามความลึกที่เพิ่มขึ้น d) อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 15) ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร a) ลม b) แรงคอริออลิส c) ความร้อน d) ตำแหน่งและลักษณะทวีป 16) พื้นที่ของมหาสมุทรคิดเป็นร้อยละเท่าไรของพื้นที่โลกทั้งหมด a) ร้อยละ 25 b) ร้อยละ 50 c) ร้อยละ 75 d) ร้อยละ 90 17) อุณหภูมิของมหาสมุทรบริเวณใดที่มีค่ามากที่สุด a) เส้นศูนย์สูตร b) ละติจูดที่ 30 องศาเหนือ c) ละติจูดที่ 60 องศาใต้ d) ขั้วโลก 18) "ลมค้า" หมายถึงลมอะไร a) ลมพายุ b) ลมฝน c) ลมธรรมชาติ d) ลมมรสุม 19) การหมุนเวียนของน้ำผิวหน้าสมุทร นอกจากได้รับแรงจากลมค้าแล้ว ยังได้รับผลจากแรงชนิดใดอีก a) แรงเหวี่ยง b) แรงคอริออลิส c) แรงโน้มถ่วงของโลก d) แรงต้านลม 20) กระแสน้ำที่ผิวมหาสมุทรในซีกโลกเหนือ มีลักษณะอย่างไร a) หมุนตามเข็มนาฬิกา b) หมุนทวนเข็มนาฬิกา c) เคลื่อนที่จากทิศเหนือลงทิศใต้ d) เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก 21) กระแสน้ำเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออก เมื่อกระทบกับทวีปจะมีการเปลี่ยนทิศทางอย่างไร a) เคลื่อนที่ไปยังละติจูดที่สูงขึ้น b) เคลื่อนที่ไปยังละติจูดที่ต่ำลง c) เคลื่อนที่ย้อนกลับทางทิศเดิม d) ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง 22) กระแสน้ำในช่วงละติจูดที่ 30 - 60 ได้รับอิทธิพลจากอะไร a) ลมค้า b) ลมตะวันตก c) แรงคอริออลิส และ ลมค้า d) แรงคอริออลิส และ ลมตะวันตก 23) กระแสน้ำอุ่นจะมีรูปแบบการไหลอย่างไร a) ไหลจากบริเวณละติจูดต่ำไปยังละติจูดที่สูง b) ไหลจากบริเวณละติจูดสูงไปยังละติจูดต่ำ c) ไหลสวนทางกันไปมา d) หยุดนิ่งไม่มีการไหลใดๆ 24) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นประกอบกับลมค้าจากซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้พัดเข้าหากันบริเวณศูนย์สูตรทำให้อากาศยกตัวขึ้นอย่างรุนแรงเรียกว่า a) หย่อมความกดอากาศ b) ร่องมรสุม c) ร่องความกดอากาศต่ำ d) ร่องความกดอากาศสูง 25) การหมุนเวียนอากาศแถบละติจูดทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่ในแนวโค้งตะวันตกไปทางตะวันออกเรียกว่า a) ลมค้า b) ลมตะวันออก c) ลมมรสุม d) ลมตะวันตก 26) 26. กระแสน้ำเย็นมีทิศทางการไหลอย่างไร a) ไหลจากละติจูดต่ำไปยังละติจูดที่สูงกว่า b) ไหลจากละติจูดสูงไปยังละติจูดที่ต่ำกว่า c) ไหลจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก d) ไหลจากน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไปหาน้ำที่มีอุณหภูมิสูง 27) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร a) ประเทศไทยมีอุณหภูมิลดลง จนบางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น b) ประเทศไทยมีความชื้นสูง มีเมฆมากและมีฝนตก c) ประเทศไทยมีความชื้นสูง และมีอากาศหนาวเย็น d) ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีอากาศร้อน 28) แรงที่โลกหมุนรอบตัวเองเรียกว่า a) แรงแฮดลีเซลล์ b) แรงโพลาร์เซลล์ c) แรงคอริออลิส d) แรงเฟอร์เรลเซลล์ 29) ลมค้าอ่อนแรงส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทร ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด a) เอลนีโญ b) ลานีญา c) ร่องมรสุม d) ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ 30) ปรากฏการณ์ลานีญา ส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทรอย่างไร a) น้ำผิวหน้ามหาสมุทรถูกพัดไปยังชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้มากขึ้น b) น้ำผิวหน้ามหาสมุทรถูกพัดไปยังชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้น้อยลง c) น้ำผิวหน้ามหาสมุทรถูกพัดไปยังชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้มากขึ้น d) น้ำผิวหน้ามหาสมุทรถูกพัดไปยังชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้น้อยลง

แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ และ ภูมิอากาศ

લીડરબોર્ડ

દૃશ્યમાન શૈલી

વિકલ્પો

ટેમ્પલેટ બદલો

આપોઆપ સંગ્રહ થયેલ છે: ?