1) พระบรมราโชวาทเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่เท่าใด a) รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว b) รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว c) รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว d) รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2) พระบรมราโชวาทใช้รูปแบบคำประพันธ์ชนิดใด a) กลอนสุภาพ b) กาพย์ยานี 11 c) ร้อยแก้ว ประเภท จดหมาย d) ร้อยแก้ว ประเภท นิทาน 3) เรื่องพระบรมราโชวาทมีจุดมุ่งหมายในการแต่งอย่างไร a) เพื่อเป็นข้อบังคับให้ลูกปฏิบัติ b) เพื่อเป็นแนวคิดสำหรับผู้ที่จะไปศึกษาต่างประเทศ c) เพื่อสอนลูก d) เพื่อแสดงพระปรีชาญาณแห่งพระมหากษัตริย์ไทย 4) ข้อความในพระบรมราโชวาททรงสั่งให้เรียนภาษาและหนังสือในสามภาษา“สามภาษา” หมายถึงภาษาใด a) อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย b) อังกฤษ รัสเซีย เยอรมัน c) อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน d) อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี 5) ข้อใดคือพระราชประสงค์ในการให้พระเจ้าลูกยาเธอ เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ a) ให้มีงานทำในตำแหน่งสูง b) ให้ช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจ c) ให้ช่วยกันสร้างสังคมใหม่ที่มีอารยธรรมตามแบบยุโรป d) ให้นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาประเทศ 6) พระคลังข้างที่ มีความหมายตรงกับข้อใด a) สำนักงานพระคลังมหาสมบัติ b) สำนักบริหารจัดการเงินภาษีและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ c) สำนักงบประมาณและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ d) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 7) เรื่องพระบรมราโชวาทเรียบเรียงโดยใช้โวหารประเภทใด a) อธิบาย b) เทศนา c) บรรยาย d) พรรณนา 8) พระบรมราโชวาทนี้นำไปใช้ได้ในโอกาสใด a) ขณะที่ศึกษาเล่าเรียน b) ขณะที่เดินทางไปต่างประเทศ c) ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ d) ใช้ได้ทุกโอกาสพิจารณาตามความเหมาะสมของสถานการณ์ 9) ใครเป็นผู้ดูแลในการศึกษาเล่าเรียนของพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ a) ราชทูต b) กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการ c) ดูแลจัดการทุกอย่างด้วยพระองค์เอง d) กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการ และราชทูต 10) “ขอบอกให้รู้เสียแต่ต้นมือว่า ถ้าผู้ใดไปเป็นหนี้มาจะไม่ยอมใช้หนี้ให้เลย หรือถ้าเป็นการจำเป็นจะต้องใช้จะไม่ใช้เปล่าโดยไม่มีโทษแก่ตัวเลย พึงรู้ไว้เถิดว่าต้องใช้หนี้เมื่อใดก็จะต้องรับโทษเมื่อนั้นพร้อมกัน” ข้อความนี้สอนในเรื่องใด a) วิธีการปฏิบัติตนตามคำพ่อสอน b) การลงโทษผู้ทำความผิด c) การใช้จ่ายทรัพย์ d) การรักษาชื่อเสียง

Табела

Визуелни стил

Поставке

Промени шаблон

Врати аутоматски сачувано: ?