1) สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันเรียกว่าอะไร a) ไบโอม b) ประชากร c) ระบบนิเวศ d) กลุ่มสิ่งมีชีวิต e) โลกของสิ่งมีชีวิต 2) ระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พืชและสัตว์ ที่คล้ายคลึงกันกระจาย อยู่ในเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เรียกว่าอะไร a) ไบโอม b) ประชากร c) ระบบนิเวศ d) กลุ่มสิ่งมีชีวิต e) โลกของสิ่งมีชีวิต 3) ข้อใดเป็นปัจจัยที่กำหนดชนิดของไบโอมบนบก a) ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ b) ปริมาณออกซิเจนในอากาศ ปริมาณออกซิเจนในอากาศ อุณหภูมิ c) แสง ปริมาณออกซิเจนในอากาศ ปริมาณน้ำฝน d) แสง อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแร่ธาตุในดิน e) ปริมาณน้ำฝน ปริมาณออกซิเจนในอากาศ อุณหภูมิ 4) ไบโอมใดที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูง a) ทุนดรา b) ป่าสน c) ทะเลทราย d) ป่าเขตร้อน e) ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น 5) ไบโอมใดพบพืชมีการปรับตัวโดยลดรูปจากใบกลายเป็นหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำ a) ทุนดรา b) ป่าสน c) ทะเลทราย d) ป่าเขตร้อน e) ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น 6) ข้อใดไม่จัดเป็นระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด a) คลอง b) แม่น้ำ c) น้ำตก d) สระน้ำ e) แนวปะการัง 7) หากเดินทางจากยอดเขาลงมาที่พื้นราบในประเทศไทยจะพบไบโอมบนบกแบบใดบ้าง โดยเรียงลำดับตั้งแต่ยอดเขาสู่พื้นราบ a) ทุนดรา ป่าสน ป่าดิบชื้น b) ป่าสน ทุนดรา ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น c) ป่าสน ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ป่าดิบชื้น d) ป่าดิบชื้น ป่าสน ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น e) ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ทุนดรา 8) ไบโอมใดที่มักพบการทำการเกษตรและปศุสัตว์ a) ทุนดรา b) ป่าสน c) ทะเลทราย d) ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น e) ทุ่งหญ้าสะวันนา 9) ป่าไม้ประเภทใดพบมากที่สุดในภาคใต้ของไทย a) ป่าพรุ b) ป่าสน c) ป่าดิบชื้น d) ป่าชายเลน e) ป่าดิบแล้ง 10) ถ้านกกินปลาในสระน้ำ พลังงานของลำดับขั้นอาหารในกบจะถูกถ่ายทอดไปยังงูได้ประมาณร้อยละเท่าใด a) 1 b) 10 c) 20 d) 90 e) 100 11) ถ้าตั๊กแตนมีพลังงาน 100 kcal กบจะได้รับพลังงานจากตั๊กแตนตามข้อใด พืช --> ตั๊กแตน --> กบ --> งู a) 1 kcal b) 10 kcal c) 100 kcal d) 1,000 kcal e) 10,000 kcal 12) สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่จะมีระดับตะกั่วสะสมในเนื้อเยื่อสูงสุด เมื่อพบว่ามีการปนเปื้อนของสารตะกั่วจากการทำเหมืองแร่ลงสู่ลำธาร a) นก b) ปลา c) สาหร่าย d) แพลงก์ตอน e) มนุษย์ 13) โพรโทซัวในลำไส้ปลวกมีความสัมพันธ์ลักษณะเดียวกับสิ่งมีชีวิตข้อใด a) แมวกับหนู b) ราและสาหร่าย c) มดดำกับเพลี้ย d) กาฝากกับต้นมะม่วง e) ฉลามกับเหาฉลาม 14) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตแบบใดที่ทำให้ผีเสื้อมีวิวัฒนาการ โดยมีสีปีกเข้ากับสภาพแวดล้อม a) ภาวะปรสิต b) ภาวะแข่งขัน c) ภาวะล่าเหยื่อ d) ภาวะอิงอาศัย e) ภาวะพึ่งพากัน 15) “นักมวยต่อยกันในการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล” สิ่งมีชีวิตข้อใดมีความสัมพันธ์กันใกล้เคียงกับข้อความข้างต้นมากที่สุด a) ช้างสู้กับช้าง b) เสือสู้กับควาย c) ควายกับนกเอี้ยง d) ฉลามกับเหาฉลาม e) แบคทีเรียไรโซเบียมอาศัยในปมรากถั่ว 16) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตแบบใด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ a) ภาวะปรสิต b) ภาวะแข่งขัน c) ภาวะเป็นกลาง d) ภาวะอิงอาศัย e) ภาวะพึ่งพากัน 17) พื้นที่ใดเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ a) พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม b) พื้นที่มีการเผาทำลายป่า c) พื้นที่ป่าที่เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง d) พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยลาวาจากภูเขาไฟ e) พื้นที่ทำไร่ของชาวเขาที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง 18) เหตุการณ์ใดมีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิได้มากที่สุด a) การเกิดไฟป่า b) การเกิดสึนามิ c) การทำไร่เลื่อนลอย d) ภูเขาไฟระเบิด e) การถางป่าและโค่นต้นไม้ 19) ข้อใดเรียงลำดับกลุ่มพืชที่เกิดขึ้นทดแทนในการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นในไบโอมป่าฝนเขตร้อนชื้นได้ถูกต้อง a) ไม้พุ่ม ไม้ใหญ่ พืชจำพวกหญ้า b) ไม้พุ่ม พืชจำพวกหญ้า ไม้ใหญ่ c) ไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม พืชจำพวกหญ้า d) พืชจำพวกหญ้า ไม้พุ่ม ไม้ใหญ่ e) พืชจำพวกหญ้า ไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม 20) กลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุด (Climax community) จะไม่พบลักษณะตามข้อใด a) สิ่งมีชีวิตน้อยชนิด b) สภาพแวดล้อมคงที่ c) สายใยอาหารซับซ้อน d) กลุ่มสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก e) สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ 21) การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยาข้อใดเป็นรูปแบบสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุด (Climax community) a) ไบโอมป่าดิบชื้น b) ป่าสนถูกไฟไหม้ c) ทุ่งนาที่ถูกปล่อยร้าง d) พื้นที่ปลูกข้าวโพดของเกษตรกร e) แม่น้ำที่แห้งขอดเนื่องจากถูกกักน้ำที่ต้นสาย 22) สิ่งมีชีวิตบุกเบิกพวกแรกที่เปลี่ยนหินไปเป็นดินคือข้อใด a) มอสและเฟิร์น b) เฟิร์นและหญ้า c) หญ้าและพุ่มไม้ d) หญ้าและไม้ยืนต้น e) ราและสาหร่ายที่อยู่ร่วมกัน 23) ข้อใดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมถูกทำลายอย่างรวดเร็ว a) การลดจำนวนของประชาการพืช b) การลดจำนวนของประชาการสัตว์ c) การเพิ่มจำนวนของประชาการมนุษย์ d) การเพิ่มจำนวนของประชาการนกอินทรีย์ e) การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 24) ข้อใดจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตซึ่งอยู่ในสถานะของแข็ง และเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทที่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างทดแทนได้ a) ดิน b) แร่ c) ป่าไม้ d) แสงแดด e) ถุงพลาสติก 25) ข้อใดจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น a) หิน b) แร่ c) ป่าไม้ d) แสงแดด e) น้ำมันปิโตรเลียม 26) กระบวนการใดที่ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นและลดลง ตามลำดับ a) การคายน้ำ การหายใจ b) การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ c) การหายใจ การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ d) การสังเคราะห์ด้วยแสง การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ e) การย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์ การสังเคราะห์ด้วยแสง f)   27) ถ้าต้องการลดการทำลายโอโซนในบรรยากาศ นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร a) ลดการใช้น้ำมัน b) ลดการใช้สาร CFC c) ลดการตัดไม้ทำลายป่า d) ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล e) ลดการใช้พลังงานทดแทน 28) แก๊สในข้อใดไม่จัดเป็นแก๊สเรือนกระจก a) มีเทน b) ออกซิเจน c) คาร์บอนไดออกไซด์ d) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน e) ออกไซด์ของไนโตรเจน 29) ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากการทำลายป่าไม้ a) การเกิดน้ำท่วมในฤดูฝน b) การพังทลายของหน้าดิน c) การเกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง d) การลดลงของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า e) คุณภาพน้ำเสื่อมลงจากการปนเปื้อนทางเคมี 30) การกระทำข้อใดไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด a) ยุทธตัดต้นไม้เพื่อนำมาสร้างบ้าน b) ปวีณาทำฟาร์มไก่ในพื้นที่ป่าสงวน c) ธรทำปุ๋ยหมักชีวภาพใส่ต้นโพธิ์ทอง d) วิทย์สร้างบ้านตากอากาศบนเขาใหญ่ e) เปรมชัยสร้างถนนตัดป่าเพื่อคมนาคม

ทบทวนก่อนสอบปลายภาควิทยาศาสตร์ชีวภาพ 2

Ranking

Estilo visual

Opções

Alterar modelo

Restaurar arquivo salvo automaticamente: ?