1) บทเสภาสามัคคีเสวกข้อใดคือความหมายของคำว่า “เสวก” a) ชาวบ้าน b) ข้าราชการในราชสำนัก c) เพื่อนบ้าน d) คนที่รัก 2) ข้อใดเป็นคำไวพจน์ที่มีความหมายว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” ทุกคำ a) ทรงธรรม์ พระเสวี b) พระจักรี ข้าพระบาท c) พระทรงศรี พระภูธร d) พระภูบาล พระสาคร 3) ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมา a) แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย b) ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น c) ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว d) เหล่าเสวกตกที่กะลาสี 4) ข้อใดเป็นคุณค่าวรรณศิลป์เด่นเรื่องสัมผัสสระที่สุด a) ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว b) คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน c) ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี d) นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต 5) ข้อใดเป็นคุณค่าวรรณศิลป์เด่นเรื่องสัมผัสพยัญชนะที่สุด a) จะต้องติดตันใจให้ขัดขวาง b) เหล่าเสวกตกที่กะลาสี c) นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต d) ในพระราชสำนักพระภูธร 6) สามัคคีเสวก ผู้แต่งเปรียบ “ประเทศชาติ” กับสิ่งใด a) กองทัพอันเกรียงไกร b) เรือใหญ่ที่แล่นในทะเล c) การทำกิจการค้าขาย d) เรือบรรทุกสินค้าที่แล่นในแม่น้ำ 7) บทเสภาสามัคคีเสวกข้อใดเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง a) ลูกเรือ = ข้าราชบริพาร b) กัปปิตัน = พระมหากษัตริย์ c) นาวา = ประเทศไทย d) คลื่นลมแรง = ความสามัคคี 8) ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของข้าราชการที่ดี a) รู้จักหน้าที่ b) ทำตามระเบียบวินัย c) จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ d) ถือทิฐิอวดดื้อ 9) "พายุใหญ่หรือมรสุม" ในเรื่องนี้เปรียบเทียบได้ตรงกับข้อใด a) ปัญหาที่พบในประเทศ b) พายุใหญ่ในทะเล c) ความสามัคคีปรองดอง d) เศรษฐกิจในประเทศ 10) ข้อใดไม่ใช่คำไวพจน์ที่หมายถึง"ข้าราชการในพระราชสำนัก" a) ข้าพระพุทธเจ้า b) ข้าพระบาท c) ราชเสวี d) เสวก 11) คำว่า "วารี" หมายถึงข้อใด a) ผู้หญิง b) เรือ c) น้ำ d) เวลา 12) คำว่า "นาวา" หมายถึงข้อใด a) เครื่องบิน b) รถยนต์ c) เรือ d) แม่น้ำ 13) คำว่า "ทิฐิ" หมายถึงข้อใด a) โกหก b) อวดดีถือตัว c) ฉลาดแกมโกง d) รู้หน้าที่ 14) คำว่า "พระจักรี" หมายถึง เทพองค์ใด a) พระพรหม b) พระพิฆเนศ c) พระศิวะ d) พระนารายณ์ 15) คำว่า "อับปาง" หมายถึงข้อใด a) ล้มเลิก b) ล่ม,จม c) สลาย d) หัก

เกมตอบคำถาม ตอน สามัคคีเสวก

Skor Tablosu

Görsel stil

Seçenekler

Şablonu değiştir

Otomatik olarak kaydedilen geri yüklensin mi: ?